หน้าแรก > แพทย์แผนจีน > การแมะ

การแมะ (ตรวจโรค)

แนวทางการรักษาของการแพทย์จีน อาศัยการแมะ (จับชีพจร) เพื่อดูการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ, ตับ, ไต, ปอด, กระเพาะ, ม้าม เป็นต้น ทำให้ทราบสมุฐานของโรคได้อยากแน่ชัดมากขึ้น รวมทั้งการสอบถามอาการ และการสังเกตอาการต่างๆ ร่วมด้วยในการวินิจฉัยประกอบกัน

สามารถแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มใหญ่ 2 กลุ่ม โดยแบ่งตามอาการของโรคดังนี้

กลุ่มอาการหยินพร่อง

หยิน ในที่นี้เปรียบได้กับน้ำหล่อเลี้ยงร่างกาย ความเย็น ความชื้น ต่าง ๆ ซึ่งในกลุ่มที่มีอาการหยินพร่องนี้ ทำให้หยางมีมากกว่า ( เสมือนไฟระเหยน้ำ ) ส่งผลทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอาการ เช่น ปัสสาวะบ่อย, ปวดหลัง, อ่อนเพลียผิดปกติ, น้ำหล่อเลี้ยงกระจายไปยังปอดไม่ได้ทำให้มีอาการ หายใจไม่เต็มปอด (หายใจสั้น ๆ ) , ภูมิแพ้ , ตาแพ้แสง ฝ้ามัวมองไม่ชัด มีคอแห้งเป็นประจำ พอทานน้ำเข้าไปร่างกายก็ไม่สามารถกักเก็บไว้ได้ ทำให้ต้องปัสสาวะออกไปอีก

กลุ่มผู้ป่วย โดยมากสามารถเป็นกันได้ทุกวัย ตั้งแต่ วัยรุ่นไปจนวัยทอง โดยวัยรุ่นที่พบ มักมีพฤติกรรมชอบนอนดึกบ่อยๆ , ไม่ทานน้ำ, ทำงานหนักไม่ได้พักผ่อนให้เพียงพอ ทำให้มีอาการดังกล่าว ส่วนวัยทอง เป็นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น เบาหวาน ,ความดันโลหิต, ความเครียด ตลอดจนอาหารการกิน เป็นปัจจัยทำให้ป่วยได้เช่นกัน

กลุ่มอาการหยางพร่อง

หยาง ในที่นี้คือ ความร้อน ความอบอุ่น การไหลเวียนเลือด ซึ่งในผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะมีอาการต่าง ๆ ดังนี้ คือ อาการเย็น ชา ตามมือและเท้า , ปวดหลัง , ปวดเอวและลงไปถึงเท้า, อ่อนเพลีย, มึนงงบ่อย ๆ ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรงในการทำงาน , ปัสสาวะน้อยลง อาจมีอาการบวมน้ำร่วมด้วย เนื่องจากไตหยางพร่อง

กลุ่มผู้ป่วย โดยมากจะเจอได้ในชายได้มากกว่าในหญิง เป็นวัยทำงานไปจนวัยทอง ซึ่งโดยมากผู้ชายที่พบ มักจะมีปัญหาเกี่ยวข้องกับเรื่องของทางเพศสัมพันธ์ (ไม่แข็งตัว) การไหลเวียนของเลือดไม่ดี มีไขมันในเลือดสูง ทำให้มักมีปัญหาเรื่องของภาวะมีบุตรยาก ความดันโลหิต ปวดหลัง และเอวอย่างมาก จนมีอาการชา เหมือนเลือดไม่เดิน เป็นต้น

อัตราค่าบริการ

บริการ ราคา
ค่าตรวจแมะชีพจร 200 บาท